โรงเรียนบ้านหนองศาลเจ้า

หมู่ 5 บ้านหนองศาลเจ้า ต.เบิกไพร อ.จอมบึง จ.ราชบุรี 70150

Mon - Fri: 9:00 - 17:30

032 720046

เรียนรู้บันได 5 ขั้นตอน สู่เสรีภาพทางการบริหารเงิน

เรียนรู้บันได 5 ขั้นตอน สู่เสรีภาพทางการบริหารเงิน

ออมเงิน เชื่อไหมว่ามีคนที่มีความเข้าใจว่าสิ่งที่เราทำ สิ่งที่เรามีในเวลานี้ จะไม่มีทางทำให้เกิดเสรีภาพทางการเงินได้เลยและ มากไปกว่านี้อีกเราไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าเราจะได้เสรีภาพทางการเงินต้องทำอย่างไรจึงจะได้มา

“เปลี่ยนนิสัยสร้างเสรีภาพทางการบริหารการเงิน”

หนทางนั้นเรียบง่ายมาก ในเส้นทางของคนมีเงินเดือนหรือFreelance ที่หน้าจะเอาไปลองปฏิบัติดู แต่ว่า ทุกคนที่คิดจะปฏิบัติต้องมีความอดทน มีวินัยในการใช้จ่ายด้วย “บันได 5 ขั้น” ของเรา จะบอกแนวทางและแนวความคิด นั่นจะเป็นการสร้าง “นิสัยใหม่” เพื่อจะได้นำไปถึงการมี “เสรีภาพทางการบริหารเงิน “มันเป็นสิ่งที่ยากแต่ถ้าอยากได้ก็ต้องทำ

ออมเงิน

บันไดขั้นที่ 1 : สร้างนิสัยที่ดี

“ปรับจูนความคิด” ของเราก่อน และเราจะสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพื่อนำไปถึงการมีเสรีภาพทางการเงินได้ ลองคิดวิเคราะห์ดูว่าเรามีนิสัยและสิ่งที่ตามใจตัวเองไม่ดีอะไรบ้าง โดยเฉพาะด้านการจับจ่ายใช้สอย เราใช้จ่ายเกินตัวเกินความจำเป็นหรือไม่ เราสร้างหนี้สร้างสินเพื่อสร้างรายได้หรือสร้างหนี้สร้างสินเพื่อสร้างความสุขส่วนตัวระยะสั้น ถ้าหากมันเป็นความสุขในระยะเวลาสั้นเราควรเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นที่ไม่เหมาะสมกับเส้นทางสู่เสรีภาพทางการบริหารเงิน

สิ่งที่สำคัญเราต้องรู้จักคำว่า “เพียงพอ” ไม่ว่าจะมีมากหรือน้อยเราต้องใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น

นอกเหนือจากนี้ เราเองก็ต้องตั้งใจและสร้างนิสัยที่ประหยัดมากขึ้น และอ่าน ฟัง เรื่องการใช้จ่ายยังไงให้ประหยัด

 

บันไดขั้นที่ 2 : สร้างความชัดเจนในสิ่งที่ตั้งใจ

สิ่งที่เราต้องตั้งเป้าหมาย 1.อายุของเรา 2. อายุเวลาการทำงานของเรา 3.ค่าใช้จ่ายต่อเดือนของเรา 4.คำนวณว่าเรามีสินทรัพย์เท่าไร และหนี้สินเท่าไร และคำนวณว่าเรามีเวลาเท่าไร

เมื่อเรารู้และคำนวณแล้วเราก็รู้ว่าเราต้องเก็บออมเท่าไรและเร็วกว่าคนอื่นที่เริ่มเก็บช้า และรู้ช้าเท่ากับเราเก็บออมได้ช้าลงคำว่าเก็บและออมในตอนนี้คือ เอาเงินที่เรามีไปวาง และลงทุนให้ถูกที่ ถูกเวลาเพื่อให้มีผล ที่ตอบแทนที่มากกว่าฝากในธนาคาร ว่าเราควรจะเอาเงินไว้ที่ไหนและอะไรบ้าง และสิ่งที่เราจะต้องเปลี่ยนก่อนคือ จดบัญชีรายรับ และรายจ่าย

เราต้องเราจาก สมุดจด มีอะไรบ้าง 1. รายการ 2. วันที่ 3.รายรับ รายจ่าย คงเหลือ ออม (%) สิ่งที่ จำเป็น แล้วมาสรุปทุกสิ้นเดือนว่าเราใช้จ่ายอะไรไปบ้างในเดือนนั้นๆๆ เราจะได้มีวิธีแก้ไขในสิ่งที่ นอกเหนือจากที่เรา ตั้งใจลดอะไรบ้างลดแล้วจะนำไปทำอะไรได้บ้าง

เคล็ดลับหนึ่งในการสะสมสินทรัพย์ คือการสะสมเงินในอัตราที่เพิ่มขึ้นตามรายได้ เช่น ถ้า 1-5 ปีแรกของการทำงานอาจจะเก็บ 10% ของรายได้ ปีที่ 6-10 เพิ่มขึ้นเป็น 20% และปีที่ 11-15 เก็บให้มากขึ้นเป็น 30% ของรายได้ เป็นต้น

“พูดง่ายๆ ว่า เปลี่ยนนิสัยจากการบริโภคเพิ่มขึ้นตามรายได้ มาเป็นนิสัยดีของการสะสมสินทรัพย์”

 

บันไดขั้นที่ 3 : สร้างความรู้และความเข้าใจที่ชัดเจนและเหนือกว่า

เก็บเพียงอย่างเดียวไม่ส่งผลทำให้เราเป็น เสรีภาพทางการเงินได้ตลอดและเสมอไป ดังนั้น เราควร ทำความรู้และความเข้าใจที่มากกว่า เพื่อที่เราจะได้นำเงินที่เรามีไปลงทุนต่อยอด “ความรู้และความเข้าใจ” นี่แหละคือสิ่งสำคัญ เราสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้ง่ายๆ ทั้ง Google Youtube เรามี เวลาเท่ากันทุกคน อยู่ที่เราจะแบ่งเวลามาเรียนรู้หรือไม่

เราต้องมาทำความรู้จัก asset หลายอย่าง เพื่อจะได้รู้ว่าสิ่งไหนควรลงทุนและไม่ควรลงทุน อีกอย่างที่สำคัญคือ “อย่าเอาทุกอย่างมาไว้รวมกันทั้งหมด” คุณกวี คลั่งไคล้ใน “สินทรัพย์ลงทุน” ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่สร้างกระแสเงินสดรับได้ตลอดอายุที่เราถือครอง และราคาสินทรัพย์นั้นๆ มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในระยะยาว แต่คนเราส่วนใหญ่มีสินทรัพย์ประเภทนี้น้อยที่สุด ทั้งที่มันเป็นรายได้แบบ “Passive Income” และสินทรัพย์ประเภทนี้ล่ะ ทำให้เขามีอิสรภาพทางการเงินได้ก่อนอายุ 45 ปี

สินทรัพย์เหล่านั้น ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล (เสี่ยงน้อย ป้องกันเงินเฟ้อได้ ดอกเบี้ยจะสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก) , หุ้นกู้เอกชน (ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยจะแตกต่างกันไปตามบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ว่ามีความเสี่ยงมากหรือน้อย) หุ้น (ใช้แนวทางการสะสมหุ้นเพื่อรับปันผลในระยะยาวเหมือนเจ้าของกิจการ) และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือ กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (ผลตอบแทนเงินปันผลจะสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาล)

 

บันไดขั้นที่ 4 : สร้างนิสัยและการยับยั้งชั่งใจ

หากเราสะสมสินทรัพย์ไปเรื่อยๆ ในระยะเวลาที่นานพอ สินทรัพย์จะไม่ได้โตแบบเส้นตรงแต่จะโตเป็นเส้น exponential เช่น สินทรัพย์มูลค่า 1 ล้านบาท หากได้ผลตอบแทน 15% ต่อปี เป็นระยะเวลา 35 ปี เมื่อเวลาผ่านไปเกิน 15 ปีเราจะเริ่มเห็นสินทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ (เส้นผลตอบแทนจะชันขึ้นมาก) พอถึงปีที่ 35 สินทรัพย์จาก 1 ล้านบาท จะกลายเป็น 133 ล้านบาท ซึ่งปรากฏการณ์แบบนี้เรียกว่า “ลูกบอลหิมะ”

ดังนั้น asset จะเติบโตเร็วแค่ไหนมันต้องใช้ระยะเวลาแน่นอน เราต้องควบคู่ไปกับการมีวินัย ให้ลองนึกถึงวินัยในการซื้อหวย หรือสลากกินแบ่งรัฐบาล ถ้าเราทำเช่นนั้นได้เดือนละ 2 งวด เราก็น่าจะนำนิสัยความมีวินัยนั้นมาใช้กับการซื้อ asset เพื่อสร้างรายได้ เช่น การลงทุนในสินทรัพย์ทุกเดือนหรือทุกไตรมาสด้วยเงินเท่าๆ กันหรือเรียกว่า DCA ผ่านการซื้อกองทุนรวม หรือผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (บริษัทตัดเงินเราทุกเดือน เดือนละเท่าๆ กัน) นี่ก็ DCA เหมือนกัน

 

บันไดขั้นที่ 5 : สร้างอนาคตหลังพบกับเสรีภาพทางการเงิน

เมื่อเรามีเสรีภาพทางการเงินเราก็เลือกสามารถทำอะไรได้ตั้งหลายอย่าง (ไม่ได้หมายความว่ามีเสรีภาพทางการเงินแล้ว ต้องหยุดทำงาน) เช่น ทำงานเดิมต่อไป หรือเปลี่ยนงานไปทำงานที่เรารักจริงๆ หรือลาออกจากงานเพื่อไปช่วยสังคม หรือไม่ก็ลาออกมาทำงานอดิเรกอยู่ที่บ้าน ปลูกต้นไม้ เลี้ยงหมาเลี้ยงแมว

สำคัญยิ่งกว่าเสรีภาพทางการเงิน คือ “คุณภาพชีวิต” มันคงไม่มีประโยชน์หากคุณภาพการเงินของเราดีมากแต่สุขภาพของเราย่ำแย่ ดังนั้น เราควรตั้งเป้าเรื่องของสุขภาพที่แข็งแรงให้เหมือนกับเรื่องอิสรภาพทางการเงินด้วย ส่วนการบริหารพอร์ตหลังเกษียณ ไม่ควรถือเงินสดไว้เฉยๆ อย่างน้อยก็ควรลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเพื่อสู้กับเงินเฟ้อ

 

*สรุปสุดท้ายนี้” ที่ว่า

“การรู้ว่า นิสัยอะไรควรเปลี่ยน ควรมี ควรสร้าง ไม่สำคัญเท่ากับการลุกขึ้นมาลงมือทำ..หากอยากจะมีเสรีภาพทางการเงินในอนาคต นิสัยแรกที่ต้องให้เปลี่ยนคือ นิสัยขี้เกียจ..และวิธีที่ทุกคนเริ่มได้ทันทีเลยนั่นคือปลูกนิสัยรักการประหยัด และอด ออมเงิน”

 

บทความอื่นที่น่าสนใจ >  คนโสด